กิจกรรมในวันสงกรานต์ ประเพณีปฏิบัติใน วันสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วง วันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความ เอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา ดังนี้ คุณค่าต่อต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา เช่นช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน ขนมไทย สงกรานต์ กะละแม ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้งแสดงความกตัญญู กตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความ สมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม / ของกินให้แก่กันและกันร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์สนุก สนานรื่นเริงร่วมกันคุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ การปฏิบัติธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ

การทำบุญตักบาตร หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด เพื่อสืบทอด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

การก่อเจดีย์ทราย (ขนทรายเข้าวัด) จะทำในวันใดวันหนึ่ง ของวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทราย มาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้าง หรือถมพื้นที่ เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด

การปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์ ซึ่งมีประวัติเล็กน้อย คือ ก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นหน้าแล้งอากาศร้อนจัดน้ำแห้งขอดขาดตอนเป็นห้วงๆ คงเหลือแต่ที่มีแอ่งและหนองน้ำ ปลาก็ตกคลัก อีกไม่ช้าพอน้ำแห้งหมด ปลาเหล่านั้นก็จะต้องตาย ชาวบ้านจึงพากันไปจับปลาที่ตกคลัก ถ้าเป็นลูกปลาจะกินไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรก็เลี้ยงไว้ในตุ่มเอาบุญ แล้วนำไปปล่อยในวันสงกรานต์ จึงเกิดเป็นประเพณีปล่อยปลา และลามมาถึงปล่อยนกด้วย

การทำบุญอัฐิ เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน หรือบางท้องถิ่นอาจจัดรวมกันที่วัดก็ได้

การสรงน้ำพระ มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี เหตุที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ สาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อ ที่ว่าการสาดน้ำ จะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผล ประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่ง เหตุนี้น้ำจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆ อาบน้ำ ซัดน้ำ หรือรดน้ำ เมื่อทำพิธีสมรส อาบน้ำเมื่อตาย อาบน้ำเมื่อโกนจุก หรือบวชนาค

การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เพื่อแสดงความเคารพนับถือ ซึ่งการเตรียมของเพื่อแสดงความเคารพนั้นจะต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น

การเล่นรดน้ำ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้องและมิตรสหาย ด้วยการรดน้ำเพียงเล็กน้อยลงที่ไหล่หรือที่มือ พร้อมกับคำอวยพรให้มีความสุข

การสาดน้ำ เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย

การเล่นรื่นเริงต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติที่ต่างกันออกไป เพื่อเชื่อมความสามัคคีและเพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป

ประวัติวันสงกรานต์

ตำนานของ สงกรานต์ นี้มีปรากฎในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความว่า

“ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐีสบประมาทในความมีทรัพย์มาก แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไรจึงแสดงอาการเยาะเย้ยและสบประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรมท่านจึงไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจนแต่ก็มีบุตรคอยดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ
นับแต่นั้นมา เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนาจนวันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ “ธรรมบาล” ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทร

เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ และวัยเพียง 7 ขวบก็เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ในขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือ “ท้าวกบิลพรหม” ซึ่งได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า

  1. ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
  2. ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
  3. ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด

เมื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัดวันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ เมื่อนึกขึ้นว่าพรุ่งนี้จะต้องตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม จึงจำใจหลบหนีออกจากปราสาทเข้าไปในป่า และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถามสามีว่า “พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน” นกสามีก็ตอบว่า “พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้” นางนกถามว่า “ปัญหานั้นว่าอย่างไร” นกสามีจึงอธิบายให้ฟังว่า

ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน

ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้ง 7 ของตนอันเป็นบริจาริกาคือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ธิดาทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะ แล้วจึงตัดศรีษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์

จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้

  1. ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
  2. ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
  3. ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)
  4. ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
  5. ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
  6. ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
  7. ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)

เขาทำอะไรกันในเทศกาลสงกรานต์

“สงกรานต์” เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคม    และสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน เช่น ความกตัญญู  ความโอบอ้อมอารี    ความเอื้ออาทรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน  เป็นประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของไทยที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ

คำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสฤต  แปลว่าก้าวขึ้น  ย่างขึ้นหรือเคลื่อนที่ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง  ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนสู่ราศีเมษ  ถือว่าเป็นสงกรานต์ปี จะเรียกพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับทางสุริยคติ    มักจะตกอยู่ในระหว่างวันที่ ๑๓  ๑๔ และ ๑๕ เมษายน  โดยแต่ละวันจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้

วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่าวันมหาสงกรานต์  หมายถึงวันที่พระอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่ง  หลังจากผ่านเข้าสู่ราศีอื่นๆมาแล้ว ๑๒ เดือน    ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายนนี้   ทางการยังกำหนดให้เป็น“วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งมักเป็นบุพการีหรือผู้อาวุโสที่เคยทำคุณประโยชน์แก่ชุนชน/บ้านเมืองหรือสังคมนั้นๆมาแล้ว

วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่าวันเนา แปลว่าวันอยู่  หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเรียบร้อยแล้ว  วันนี้รัฐบาลได้กำหนดให้เป็น “วันครอบครัว” ด้วย

วันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่าวันเถลิงศก  หรือวันพญาวัน คือวันเริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่  หรือวันเริ่มปีใหม่

ทั้งสามวันนี้     หากคำนวณตามโหราศาสตร์จริงๆ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้าง   เช่น   วันมหาสงกรานต์ อาจจะเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน แทนที่จะเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน  แต่เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงกำหนดเรียกตามที่กล่าวข้างต้น

จากการที่สงกรานต์เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ชัดเจนสืบทอดต่อมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม มีความมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่จิตใจ ครอบครัวและสังคมเป็นสำคัญ   เทศกาลนี้จึงมีกิจกรรมอันหลากหลายและมีเหตุผลในการกระทำทั้งสิ้น   ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอยกตัวอย่างกิจกรรมต่างๆที่นิยมจัดหรือทำกันในภาคต่างๆเป็นภาพรวมเพื่อให้ทราบ ดังต่อไปนี้

ก่อนวันสงกรานต์  มักจะเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลในการต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันปีใหม่ คือ การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย   รวมถึงข้าวของเครื่องใช้  บางคนก็ไปช่วยทำความสะอาดที่สาธารณะต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน  ชุมชน เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดเตรียมอาหารคาวหวานเพื่อไปทำบุญ  หลายๆคนก็มีการจัดเตรียมเสื้อผ้า เครื่องประดับที่จะใส่ไปทำบุญ ตลอดจนมีการจัดผ้าที่จะนำไปไหว้ผู้ใหญ่ที่จะไปรดน้ำขอพรจากท่านด้วย

การเตรียมตัวในเรื่องต่างๆก่อนวันสงกรานต์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความสะอาด  การจัดทำอาหารไปทำบุญ ฯลฯ จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น มีความหวัง และรอคอยด้วยความสุข การได้ทำความสะอาดบ้านก็เหมือนการได้ฝึกชำระจิตใจล่วงหน้าไปในตัว

วันสงกรานต์  เมื่อวันสงกรานต์มาถึง  ก็จะเป็นเวลาที่ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส  จิตใจเบิกบานซึ่งกิจกรรมในวันนี้ก็มักจะเป็นการทำบุญตักบาตรตอนเช้า  หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด  ทำบุญอัฐิ  โดยอาจจะนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ   หากไม่มีก็เขียนเพียงชื่อในกระดาษก็ได้  เมื่อบังสุกุลเสร็จแล้วก็เผากระดาษนั้นเสีย  การสรงน้ำพระ จะมี ๒ แบบคือ สรงน้ำพระภิกษุสามเณร และการสรงน้ำพระพุทธรูป

นอกจากนี้ยังมี การก่อเจดีย์ทราย โดยนำทรายมาก่อเป็นเจดีย์ต่างๆในวัด  จุดประสงค์ก็คือให้วัดได้ประโยชน์ในการก่อสร้างหรือใช้ถมพื้นต่อไป เพราะสมัยก่อนคนมักเข้าวัดทำกิจกรรมต่างๆ  เขาก็ถือว่าทรายอาจติดเท้าออกไป ดังนั้น เมื่อถึงปีก็ควรจะขนทรายไปใช้คืน  การปล่อยนกปล่อยปลา  ซึ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์มักจะเป็นหน้าแล้ง  น้ำแห้งขอดอาจจะทำให้ปลาตาย จึงมักมีการปล่อยนกปล่อยปลาที่ติดบ่วงติดน้ำตื้นให้เป็นอิสระ หรือบางแห่งก็มีการปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อช่วยสร้างสมดุลธรรมชาติ

นอกเหนือไปจากการทำบุญข้างต้นแล้ว ก็ยังมีการรดน้ำขอพรผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในครอบครัว  ชุมชนหรือที่ทำงาน  การรดอาจจะรดทั้งตัวหรือเฉพาะที่ฝ่ามือก็ได้  และควรจัดเตรียมผ้านุ่งหรือของไปเคารพท่านด้วย
สำหรับการเล่นรื่นเริง จะมีหลายอย่าง เช่น  เข้าทรงแม่ศรี การเข้าผีลิงลม   การเล่นสะบ้า    เล่นลูกช่วง  เล่นเพลงพิษฐาน(อธิษฐาน) รวมไปถึงมหรสพและการแสดงต่างๆ เป็นต้น ขึ้นความนิยมของคนในพื้นที่นั้นๆ

กิจกรรมอีกอย่างที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ไปแล้วก็คือ  การเล่นรดน้ำระหว่างเด็กๆ และหนุ่มสาว  ซึ่งแต่เดิมนั้นมักเล่นกันเฉพาะในหมู่ญาติมิตรเพื่อนฝูงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยจะใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบ หรือน้ำหอม และเล่นสาดกันด้วยความสุภาพ มีไมตรีต่อกัน

กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างแล้วแต่ท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมและความต้องการของชุมชนนั้นๆเป็นสำคัญ  แต่เราจะเห็นได้ว่ากิจกรรมในเทศกาลนี้ล้วนทำให้สงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม   อ่อนโยน   เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร   ความกตัญญูและความเคารพซึ่งกันและกัน  อย่างไรก็ดี  จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน ได้ทำให้ความหมาย คุณค่าและสาระของสงกรานต์ได้แปรเปลี่ยนไปด้วย จนทำให้คนยุคนี้ โดยเฉพาะเยาวชนได้เห็นแต่เพียงความสนุกสนานจากการเล่นสาดน้ำ ที่ได้กลายพันธุ์จนเป็น “สงครามน้ำ”ไปแล้วอย่างน่าเสียดาย  ดังนั้น คงจะยังไม่สายเกินไปที่เราจะได้เรียนรู้ และรู้จักเลือกประพฤติปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นแก่นแท้หรือสาระของสงกรานต์อย่างแท้จริง กิจกรรมใดที่หลงเหลือแต่เพียงรูปแบบแต่ขาดความหมาย เช่น การก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งสมัยนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ให้พระภิกษุนำไปใช้ประโยชน์เช่นกาลก่อน หรือการปล่อยนกปล่อยปลาที่ได้กลายมาเป็นธุรกิจเพื่อการซื้อการขาย ก็อาจจะยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยหากจำเป็น

ส่วนกิจกรรมที่ยังสมควรปฏิบัติ เพื่อสืบทอดความดีงามและคุณค่าของประเพณีนี้เอาไว้ก็ยังมีอยู่  เช่นการทำบุญตักบาตร นำอาหารไปถวายพระ ถือเป็นการสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นการกล่อมจิตใจให้รู้จักการให้และเสียสละ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ก็เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณผู้ล่วงลับไปแล้ว   การสรงน้ำพระ  ทั้งพระภิกษุและพระสงฆ์    ก็เพื่อความเป็นสิริมงคล  และเป็นการแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลผู้สืบทอดพระศาสนา  การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้ท่านเมตตาเอ็นดู และการที่ท่านให้พร ก็เป็นการเตือนสติให้เราเริ่มต้นชีวิตด้วยความไม่ประมาท  ส่วนการรดน้ำหรือสาดน้ำเล่นกัน ก็ควรจะอยู่ในขอบเขตความเหมาะสม ไม่เล่นรุนแรง หรือใช้น้ำสกปรก เพราะเป็นสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน  มิใช่การไล่ล่าศัตรู  การละเล่นรื่นเริงต่างๆ ก็จะช่วยให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน  เป็นต้น

……………………………………………………

ข้อมูลจาก : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

งานเทศกาลปีใหม่ชาวไทยภูเขา

จัดขึ้นทุกปีบนดอยที่มีชาวเขาอาศัยอยู่ ที่นิยมไปกันคือ บนดอยมูเซอ ที่อยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.ตาก ทั้งเผ่ามูเซอดำ ม้ง และลีซอ ส่วนใหญ่จัดในเดือน ม.ค.-ก.พ. แต่ละเผ่าจะจัดงานไม่พร้อมกัน แต่ในช่วงที่มีงานปีใหม่ของชาวมากที่สุด คือช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนระยะเวลาของงานจะขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ได้ในปีที่แล้ว ถ้าผลผลิตดีก็จะมีงานหลายวัน แต่ถ้าผลผลิตไม่ดีนักเวลาของงานก็จะลดลงเหลือเพียงสามวัน

ชาวมูเซอดำจะจัดพิธี “กินวอ” ซึ่งจะมีกาฆ่าหมูเลี้ยงผีทุกวันจนกว่างานจะเลิก ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ มีกาจุดประทัด ยิงปืนแก๊ป เป่าแคน และดีดซึง เพื่อต้อนรับคนต่างถิ่น มีการผลัดกับการเต้นรำตลอดเวลา ในวงเต้นรำที่เรียกว่า “จะคึ” ส่วนงานวันขึ้นปีใหม่ของชาวลีซอก็มีการเซ่นไหว้บรรดาผีต่าง ๆ และตอนบ่ายมีพิธีเต้นรำไปตลอดวันตลอดคืนเช่นกัน

ป้องกันแล้ว:รายงานการเงิน “รายรับจากกิจกรรมรุ่น”

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

งานประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า

culture_14

จัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำเดือน 9 ของภาคเหนือหรือเดือน 7 ของภาคกลาง (ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน) จัดขึ้น เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก ทางวัดจะจัดให้มีพิธีสมโภช และสักการะพระบรมธาตุ

culture_15

ข้อมูลจาก : อบจ.ตาก

ขอเชิญศิษย์เก่า โรงเรียนตากพิทยาคม รุ่นปีการศึกษา 2530 ทุกท่าน

ขอเชิญพวกเราชาว ต.พ.30 ร่วมรดน้ำดำหัวอาจารย์

เนื่องในวันเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ กระผม นายอำนาจ วงศ์ศิลาขาว ในฐานะประธานศิษย์เก่าโรงเรียนตากพิทยาคม รุ่น 30 ขอเรียนเชิญพวกเราชาว ต.พ.30 ร่วมกันไปรดน้ำดำหัวอาจารย์โรงเรียนตากพิทยาคม ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของพวกเรา ในฐานะที่ได้ชื่อว่าเป็น “ศิษย์เก่า” ทั้งยังเป็นช่วงเวลาอันดีสอดรับกับประเำพณีสงกรานต์ ที่พวกเราเหล่าลูกศิษย์จะไ้ด้ถือโอกาสขอขมาสิ่งต่างๆ ที่เราได้เคยล่วงเกินท่านอาจารย์ไว้ งานนี้ทางโรงเรียนตากพิทยาคมได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ดังนั้น กระผมจึงถือโอกาสนี้ในฐานะตัวแทนของพวกเราชาว ต.พ.30 แจ้งความประสงค์ต่อทาง โรงเรียนตากพิทยาคม ว่าพวกเราจะขอเข้าร่วมในกิจกรรมอันดีงามนี้ด้วย ดังน้น จึงอยากจะขอ เชิญขวนเพื่อนๆ ชาว ต.พ.30 ทุกท่านมาร่วมในกิจกรรมอันดีงานนี้ ในวันที่ 14 เมษายน 2552 ณ โรงเรียนตากพิทยาคม จ.ตาก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือร่วมใจจากเพื่อนๆ ชาว ต.พ.30 ทุกท่านเป็นอย่างดี

ขอแสดงความนับถือ

อำนาจ วงศ์ศิลาขาว

เอกสารแนบ

e0b8a3e0b894e0b899e0b989e0b8b3e0b894e0b8b3e0b8abe0b8b1e0b8a7e0b884e0b8b8e0b893e0b884e0b8a3e0b8b9

กำหนดการ

กำหนดการ


งานประเพณีลอยกระทงสายฯ : การประกวดกระทงสาย

การแข่งขันการปล่อยกระทงสายของแต่ละชุมชน เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเริ่มจากการปล่อยกระทงนำ ตามด้วยกระทงตาม และกระทงปิดท้าย ผู้ลอยจะต้องใช้ความสามารถในการลอยเพื่อให้กระทงไหลตามลำน้ำอย่างต่อเนื่องไปตามสายน้ำ ซึ่งทำให้เห็นเป็นแนวยาวสุดสายตา และในระหว่างที่ปล่อยกระทงนั้น จะมีฝ่ายเชียร์ซึ่งจะตั้งกองเชียร์อยู่บนริมฝั่งแม่น้ำ ส่งเสียงเชียร์ ตีฆ้องกลอง ร้องเพลงร่ายรำกันเป็นที่สนุกสนาน

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินการแข่งขันลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง

กระทงนำ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร และไม่เกิน 3.00 เมตร
2) ประดิษฐ์ให้สวยงามตามวัฒนธรรมไทย
3) ในกระทงประกอบด้วย ผ้าสบง หมากพลู เมี่ยง เครื่องกระยาบวช ของกินของทาน ดอกไม้ธูปเทียน ฯลฯ

culture_06

การปล่อยกระทงนำ

กระทงตาม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1) จะต้องมีจำนวนกระทงตาม (กะลามะพร้าว) 1,000 กระทง

2) วัสดุที่ทำให้เกิดแสงสว่าง ใช้ด้ายหรือเชือกฟั่นเป็นรูปตีนกา ทำเป็นไส้ หล่อด้วยเทียนไขหรือขี้ผึ้ง

culture_09

กระทงตาม

กระทงปิดท้าย มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1) จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่ต่ำกว่า 0.50 เมตร

2) ประดิษฐ์ให้สวยงามตามวัฒนธรรมไทย

3) มีสัญลักษณ์ให้ทราบว่าได้สิ้นสุดการลอยแล้ว

culture_10

การเตรียมปล่อยกระทงปิดท้าย

การปล่อยกระทงสาย (สภาพการลอย) มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) มีสมาชิกลงไปช่วยทีมละไม่เกิน 20 คน
2) แต่งการในลักษณะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเหมือนกันทั้งทีม
3) ให้ลงอยู่ในน้ำได้ ในระยะที่ห่างจากท่าปล่อยไม่เกิน 10 เมตร
4) ใช้เวลาปล่อยไม่เกิน 30 นาที (เริ่มจับเวลาตั้งแต่ปล่อยกระทงนำ จนถึง กระทงปิดท้าย)
5) สายของกระทงต้องมี แสงสว่าง คงทน และเป็นสายยาวต่อเนื่อง

culture_07

การจุดกระทงตาม

culture_08

การปล่อยกระทงตาม

การเชียร์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) กองเชียร์ของทีมที่กำลังปล่อย ขึ้นไปแสดงบนเวทีกลางน้ำ โดยใช้เวลาแสดง 30 นาที (เริ่มแสดงพร้อมกับการปล่อยกระทง)
2) มีผู้แสดงจำนวน ไม่น้อยกว่า 80 คน
3) การแต่งกายแสดงออกถึงวัฒนธรรมและประเพณีไทย
4) เพลงที่นำมาร้องเป็นเพลงที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีไทย มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับประเพณีไทย
5) เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทย
6) ให้ใช้กะลาเป็นส่วนประกอบของการแสดง อย่างน้อย 1 ชุด

culture_13

การรำประกอบการปล่อยกระทงสาย

culture_11

การร้องเพลงประกอบการปล่อยกระทงสาย

culture_12

การเล่นดนตรีประกอบการปล่อยกระทงสาย

ขบวนแห่ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) ให้นำ กระทงนำ กระทงตาม และกระทงปิดท้าย มาร่วมขบวนแห่ทุกขบวนเพื่อทำการประกวด
2) มีผู้ร่วมขบวนแห่จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน แต่ไม่เกิน 150 คน แต่งกายในลักษณะส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
3) รถที่เข้าร่วมขบวนแห่ใช้รถยนต์หรือล้อเลื่อนอื่นๆ รวมแล้วไม่เกิน 5 คัน พร้อมตกแต่งให้สวยงามทุกคัน
4) ต้องมี ธิดากระทงสาย ร่วมมาในขบวนแห่ด้วย
5) ขบวนที่มีการแสดงให้แสดงในลักษณะเคลื่อนที่ เพื่อขบวนจะได้เคลื่อนไปโดยไม่ขาดตอน

ธิดากระทงสาย มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) จัดประกวดธิดากระทงสายบนเวทีกลางลำน้ำปิง
2) เป็นหญิงสาวอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี
3) การแต่งกายให้แต่งกายชุดไทย

การประกวดตกแต่งกระทงสายหน้าหน่วยงานหรือองค์กร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) กระทงสายจะต้องประกอบด้วย กระทงนำ กระทงตาม และกระทงปิดท้าย
2) ประดับตกแต่งไว้บริเวณหน้าหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ หรือในบริเวณที่เหมาะสม

ข้อมูลจาก : อบจ.ตาก


ขอแสดงความยินดีกับ…เพื่อนอิ๊ ปรีดี สันติพนารักษ์

ขอแสดงความยินดีกับ เพื่อนอิ๊ เอ้ยม่ายช่าย…ต้องเสี่ยอิ๊…ดิ

ครับก็ต้องขอแสดงความยินดีแหละครับ (ทำไมไม่เป็นเรา) เฮ้อ…คนเรานะครับ มันจะรวยจะทำงัยได้ ก็ได้ข่าวมาว่าอย่างนี้นะครับ ข่าวเค้าว่า…เสี่ยอิ๊…นี่…แกไปฉลอง เช็คช่วยชาติ (ที่เถ้าแก่มาร์คเค้าแจก) ซะสองวันสองคืน…และขณะที่กำลังนอน…แฮ้งค์…อย่างเมามันอยู่น้้น…เปรี้ยงงงง….ข่าวดีก็เข้ามาอีก… มีเงินตกใส่ครับท่าน…นี่แหละน๊า คนมันจะรวยก็หยุดไม่อยู่แหละครับ แต่อันนี้ก็ต้องบอกว่าเสี่ยเค้าทำ บุญมาเยอะ นี่แหละครับทำดีต้องได้ดี (เกี่ยวกันมั๊ยเนี่ย) ยังงัยก็ขอแสดงความยินดีกับเสี่ยอิ๊อีกครั้ง นะครับ แล้วอย่าลืมกันน๊า…หุหุหุ….มีข่าวแว่วๆ มาว่าจะเลี้ยงวันที่ 12 เมษายน 2552 (จริงป่าว?)

แก้ข่าวเลยนะครับ…เสี่ยเค้าบอกวันที่ 12 ช้าไปขอเป็นวันที่ 8 เมษายน ตอนเย็นๆ เลยจะได้ฉลองให้กับ ชาวเสื้อแดง พร้อมกันไปทีเดียวเลยใครทราบข่าวแล้วไม่มาถือว่า…อุบอิบ…จ้าาาา

คุณนายแจ๊ส ขอเรียนเชิญเพื่อนๆ ชาว ต.พ.30

คุณนายแจ๊ส ขอเชิญเพื่อนๆ ชาว ต.พ.30

คุณนายเค้าฝากมาบอกกับเพื่อนๆ ว่าในวันที่ 15 เมษายน 2552 คุณนายเค้าจะจัดงานเลี้ยงที่บ้านเนื่องในโอกาส

  1. 1.ทำบุญบ้าน
  2. 2.ฉลองวันเกิดให้กับสามี
    3.ฉลองว่าที่ นายอำเภอคนใหม่(สามีคุณนายนั่นแหละ)

ภายในงานมีอาหารการกิน (ฟรีตลอดงาน) เครื่องดื่มมีเบียร์สดให้ดื่มตลอดงานอีกเช่นกัน (ใครคอวิสกี้ให้นำมาเองนะครับ) ดนตรีพร้อมโคโยตี้เพียบ งานเริ่มประมาณ 16.00 น. สำหรับใครที่มีบุตรหลานตัวเล็กๆ ที่ชอบว่ายน้ำคุณนายเค้าบอกว่า มีสระว่ายน้ำให้เด็กๆ เล่นด้วย ช่วยมากันเยอะๆ อีกเช่นเคยนะครับ…เฮ…

บ้านคุณนายแจ๊ส อยูเลยปากทางเขี่อนขึ้นไปทางอำเภอเถินเยื้องกับ อบต.วังจันทร์ ประมาณ 300 ม. (เลยปากทางเขื่อนไปไม่ไกลอยู่ซ้ายมือ)